ทำความรู้จักกับ hospice สถานที่ดูแลผู้ป่วยก่อนสุดท้าย


hospice

สถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือ hospice เพื่อให้จากไปอย่างสงบ เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในต่างประเทศ แต่ว่าในไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก โดยสถานที่แห่งนี้จัดขึ้นมาจากบรรดาพระสงฆ์ในคริสต์ศาสนา ตั้งแต่เกิดสงครามครูเสดในขณะนี้ ซึ่งในนั้นมีผู้ป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากโรคภัยต่างๆ นาๆ โดยเฉพาะกับผู้ที่ยากจน ซึ่งไม่ได้มีการรักษาที่ดี จนภายหลังมีการก่อตั้งอย่างชัดเจนและมีเป้าหมายที่ตรงจุดปราสงค์มากขึ้น นั่นก็คือเป็นสถานที่ที่เอาไว้สำหรับดูแลผู้ป่วยที่ใกล้ตาย ให้จากไปอย่างสงบ โดยจะเน้นที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ และคนจนเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ด้วยการประคับประคองอย่างสุดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษา 

สถานการณ์ hospice ในประเทศไทยเป็นอย่างไร 

ถ้าเป็นในประเทศไทยบ้านเรานั้น เชื่อว่าหลายท่านคงไม่คุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้สักเท่าไหร่ อย่างมากก็คงจะเห็นบ้านพักคนชรา ซึ่งมีทั้งที่ไทยและต่างประเทศ แต่ก็ยังมีสถานที่บางแห่งในประเทศไทยเหมือนกัน ที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกับ ฮอสพิซ อย่างที่วัดพระบาทน้ำพุ ศูนย์ธรรมรักษ์ เป็นต้น ที่มีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีผลกระทบจากยาเสพติด จากโรคภัยต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนจน ที่ไม่มีญาติมาดูแล และผู้ที่จะเข้ามาดูแลในส่วนนี้ ก็จะเป็นอาสาสมัครเป็นส่วนใหญ่ไม่ก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง   

ในการดูแลรักษานั้น จะเน้นเป็นการดูแลรักษาตามอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยการประคับประคอง เพื่อให้ตัวของผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบที่สุด และในการรักษานั้นจะมีทั้งการดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้ป่วยใน คือผู้ที่เข้ามารับการรักษายังสถานที่นั้นๆ กับอีกแบบก็คือ การให้ญาติของผู้ป่วยเป็นผู้ดูแลด้วยตัวเอง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะแนะนำวิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วย hospice ว่าควรทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อให้ถูกต้องและดีที่สุด ซึ่งการดูให้ญาติเป็นคนดูแล ก็จะมีข้อดีหลายอย่างมากกว่า เนื่องจากตัวของผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะได้อยู่กับครอบครัวและคนที่ตัวเองรักนั่นเอง ก่อนที่จะจากไป 

แต่การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ก็ยังมีปัญหาหลายอย่างอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะว่าตอนนี้คนที่สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ อย่างเช่นเตียงน้อยเกินไป เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษา มีจำนวนน้อยเกิน รวมถึงยารักษาในกรณีต่างๆ เพื่อให้ตัวของผู้ป่วยได้ยาอย่างถูกต้องกับอาการ หรือแม้แต่การให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับไปรักษาที่บ้าน ก็ยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับญาติได้ ว่าควรรักษาอย่างไร ดูแลอย่างไร เมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ต้องแก้อย่างไร ดังนั้นเรื่องเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลายๆ ภาคส่วน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ 

สรุป 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของ hospice ที่หลายท่านอาจจะยังสงสัยอยู่ ความจริงแล้วในประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่คนเป็นลูกหลาน ต้องดูแลพ่อแม่พี่น้องของตัวเองอยู่แล้ว เราจึงไม่ค่อยได้ใส่ใจในเรื่องของสถานที่เหล่านี้มากนัก ซึ่งเป็นการดูแลจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตอยู่แล้ว น้อยมากที่จะเอาคนในครอบครัวไปอยู่สถานที่พักคนชรา หรือบ้านที่ไม่ใช่บ้านของตัวเอง